วันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

สุขสันติ

โอม ศรีมหาพิฆเนศวร นมัช
พระพิฆเนศวรเทพเจ้าแห่งอุปสรรคและศิลปวิทยาการ
ลักษณะประจำพระองค์คือ ความสว่างและพระกำลังดุจพระอาทิตย์
มีสี่กร กรขวาถือโมทกะหรืองาช้างหรือเหล็กจาง หนังเสือ
เป็นสัญลักษณ์ศิลปวิทยาการ กรซ้ายถือปาศะหรือบ่วงบาศเชือก
คล้องคอช้าง อังกุศะหรือขอสับช้าง เป็นสัญลักษณ์เทพเจ้าแห่งช้าง
ทั้งปวงในโลก และกรซ้ายล่างถือขนมลัฑฑุหรือขนมหวาน
มีงูพันรอบกาย และประทับบนหลังหนูมีความเป็นความมืดมิด
การประทับบนหลังหนูหมายถึงขจัดความมือทำให้เกิดความสว่าง
พระพิฆเนศวร แปลว่า ผู้เป็นใหญ่แห่งความติดขัด หรืออุปสรรค
ผู้สามารถขัดขวางมนุษย์ สัตว์ เทวดา และมารร้าย ต่างๆ
ขณะเดียวกันก็สามารถขจัดสิ่งกีดขวางทั้งปวง
ผู้ประทานความสำเร็จ ผู้มีปัญญาอันยิ่งใหญ่
และผู้ประทานศิลปวิทยาการ ตำนาน
กำเนิดพระพิฆเนศวรมีหลากหลาย แต่จุดรวม
ที่สำคัญเหมือนกันคือ เป็นโอรสของพระศิวะ
กับนางปารวตี(พระอุมา) การนับถือพระพิฆเนศวร
จึงหมายถึงการเคารพพระศิวะและพระนางปารวตี
ในคราวเดียวกัน กำเนิดพระพิฆคเณศร ๆ
เป็นตราประจำกรมกองต่าง ๆ มากมาย
พระพิฆเนศวรเป็นเทพแห่งปราชญ์และความรอบรู้ต่าง ๆ
เป็นเทพแห่งขจัดอุปสรรคความขัดข้อง
ดังนั้นหากผู้ใดเป็นผู้รู้และต้องการประสบความสำเร็จ
ต่อกิจการทั้งปวงมักจะบูชาพระพิฆเนศวรก่อน
ในอินเดียเองก็มีแนวความเชื่อในเรื่องพระพิฆเนศวรในทุกลัทธิศาสนา
ไม่ว่าลัทธิที่ถือองค์พระศิวะเป็นใหญ่ นับถือพระพรหมเป็นใหญ่
หรือพระนารายณ์เป็นใหญ่ด้วยทุกตำรา
ได้กล่าวถึงที่มาของพระพิฆเนศวรไว้สูง
สำคัญและฤทธิ์มากมีความเฉลียวฉลาดมีคุณธรรม
คอยช่วยเหลือปกป้องปราบปรามสิ่งชั่วร้ายและเป็นยอดกตัญญู
แม้พระพิฆเนศวรจะเป็นเทพที่มีความเก่งกาจสามารถยิ่ง
แต่ก็เป็นเทพที่สงบนิ่งไม่เย่อหยิ่งทรนงอันเป็นคุณสมบัติ
อันประเสริฐอีกประการหนึ่งของผู้ยิ่งใหญ่อย่างแท้จริง
จึงกล่าวได้ว่า พระพิฆเนศวรเป็นมหาเทพที่ดีพร้อมครบถ้วน
ด้วยความดีงามสมควรแก่การยกย่องบูชาเป็นนิจ
แม้แต่องค์พระศิวะมหาเทพผู้สร้างและพระบิดาแห่งองค์พระพิฆเนศวร
ยังกล่าวว่า ไม่ว่าจะกระทำการสิ่งใดหรือทำพิธีบูชาใด
ให้ทำการบูชาพระพิฆเนศวร ก่อนกระทำการทั้งปวง
“ผู้ใด ต้องการความสำเร็จ ให้บูชาพระพิฆเนศวร”
ผู้ใด ต้องการพ้นจากความขัดข้องทั้งปวง
มีตำนานที่กล่าวถึงความมีสติปัญญาและไหวพริบ
ของพระคเณศไว้หลายตอน อย่างเช่นกรณี
ที่ท่านเป็นผู้ลิขิตมหากาพย์ภารตะ ครั้งหนึ่ง
มหาฤาษีวยาสะมีความต้องการที่จะเขียนมหากาพย์ภารตะ
แต่เกรงว่าตนจะทำเองไม่สำเร็จ จึงไหว้วานให้ผู้อื่นช่วย
แค่ไม่มีใครกล้าอาสาที่จะรับงานชิ้นนี้ ฤาษีนารอด
เห็นว่าพระคเณศองค์เดียวเท่านั้นที่จะเขียนมหากาพย์ชิ้นนี้ได้
ในที่สุดฤาษีวยาสะจึงต้องทูลขอความช่วยเหลือจากพระคเณศ
คนไทยรู้จักพระพิฆเนศวรมากที่สุดเพราะท่านเป็นมหาเทพ
มีส่วนเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตคนไทยมากที่สุดจนกล่าวได้ว่า
คนไทยยอมรับในองค์พระพิฆเนศวรเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่ง
ในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ
ปางต่างๆขององค์พระคเณศที่มาจาก http://ganest.saiyaithai.org/
ปางที่ ๑ : พระบาล คณปติ (Bala Ganapati)อวตารภาคเด็ก :
ปางอันเป็นที่รักของทุกคนและเด็กๆ คาถา "โอม ศรี บาลา
คณปติ ยะนะมะฮา" เป็นพระพิฆเนศในวัยเด็ก คลานอยู่กับพื้น
หรืออิริยาบทอื่นๆ เมื่อโตขึ้นจึงเปลี่ยนลักษณะ มีวรรณะสีแดงเข้มมี4กร
บาลคณปติ หมายถึงสีทองของพระเจ้า ทรงถือต้นอ้อย
มะม่วง กล้วย และขนุน ที่งวงทรงถือลูกมะขวิด
แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ และภาวะการเจริญเติบโต
นิยมบูชาในบ้านเรือน หรือโรงเรียนที่มีเด็กเล็ก เด็กนักเรียน
เช่น โรงเรียนอนุบาลและชั้นประถม สถานรับเลี้ยงเด็ก
สนามเด็กเล่น ฯลฯ
ปางที่ ๒ : พระตรุณ คณปติ (Taruna Ganapati)อวตารภาควัยหนุ่ม :
ปางที่ให้คุณประโยชน์ในกิจการงานคาถา
"โอม ศรี ตรุณะ คณปติ ยะนะมะฮา" วรรณะสีแดงอมส้ม
เหมือนอาทิตย์ยามแรกอรุณ มี ๘ กร ทรงถือรวงข้าว
ต้นอ้อย ตะบอง บ่วงบาศ งาหัก ผลฝรั่ง ขนมโมทกะ
และขนมอื่นๆ ปางนี้เป็นตัวแทนการเจริญเติบโต
ความเป็นหนุ่มสาว นิยมตั้งบูชาไว้ตามสถานศึกษา
มหาวิทยาลัย หรือสถานที่ทำงานที่เต็มไปด้วยคนหนุ่มสาว
วัยกระตือรือร้น
ปางที่ ๓ : พระภักติ คณปติ (Bhakti Ganapati) ปางบูชาขอพระเวท
เพื่อความสมบูรณ์เติมเต็มของชีวิต คาถา "โอม ศรี ภัคดี
คณปติ ยะนะมะฮา" วรรณะสีขาวบริสุทธิ์ดั่งพระจันทร์เต็มดวง
ในฤดูเก็บเกี่ยว มี ๔ กร ทรงถือมะม่วง กล้วย ลูกมะพร้าว
และถ้วยข้าวปาส(ปรุงด้วยนมสด และข้าวสาร มีรสหวาน)
พระภัคติ คณปติ หมายถึงผู้ภักดีอย่างแท้จริง
บูชาเพื่อความสุขสมหวังในชีวิต หรือเพื่อหลุดพ้น
ปางที่ ๔ : พระวีระ คณปติ (Veera Ganapati) อวตารแห่งนักรบ
ปางออกศึก และปราบมาร
ให้อำนาจในการบริหารปกครอง และความเป็นผู้นำ
คาถา “โอม ศรี วีระ คณปติ ยะนะมะฮา”วรรณะสีแดงโลหิต
มี ๑๖ กร ทรงอาวุธ และสิ่งมงคลต่างๆคือ โล่ หอก
ค้อน คทา ธงชัย จักรตรา พญางู ขวาน คันศร ลูกศร
ตรีเพชร ขอสับช้าง อสูร กระบี่ ตะบอง และบ่วงบาศ
พระกรเหล่านั้นกางออกประดุจรัศมีอำนาจแห่งดวงอาทิตย์
อำนวยผลให้กับองค์กรบริหารราชการแผ่นดิน ทหาร
ตำรวจ พลเรือน ฝ่ายปกครอง ผู้นำ ผู้บริหาร
หัวหน้าหน่วยงานทุกประเภท
ปางที่ ๕ : พระศักติ คณปติ (Shakti Ganapati) ปางทรงอำนาจ
เหนือการงาน การเงิน และความรัก
คาถา “โอม ศรี ศักติ คณปติ ยะนะมะฮา”
วรรณะสีแป้งจันทร์ มี ๔ กร ประทานพร
ถือพวงมาลัย บ่าวบาศ และกรหนึ่งโอบพระชายา
ที่ประทับอยู่หน้าตักด้านซ้าย รัศมีสีแดงส้ม
สื่อถึงพลังอำนาจที่อยู่เหนือสรรพสิ่ง
อำนวยผลให้ชีวิตครอบครัวมีความสุข
และประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน
ปางที่ ๖ : พระทวิชา คณปติ (Dwija Ganapati) ปางของการบุกเบิก
เริ่มต้นชีวิตใหม่ เปิดกิจการใหม่
คาถา “โอม ศรี ทวิชา คณปติ ยะนะมะฮา”
วรรณะสีขาวมี ๔ เศียร ๔ กร ทรงถือลูกปะคำ ไ
ม้ครู(หรือพลอง) กาน้ำ และคัมภีร์ และเป็นสัญลักษณ์แห่งการเกิดใหม่
ความพากเพียร และแสวงหาวิชาความรู้
อำนวยผลให้กับผู้ประกอบกิจการต่างๆ นักธุรกิจ
นักลงทุน นักสำรวจ นักบุกเบิก คนทำงานต่างแดน เป็นต้น
ปางที่ ๗ : พระสิทธิ คณปติ (Siddhi Ganapati)
ปางประทานความสมบูรณ์ และทรัพย์สมบัติ
คาถา “โอม ศรี สิทธิ คณปติ ยะนะมะฮา”
วรรณะสีทองคำ มี ๔ กร ทรงถือช่อดอกไม้ มะม่วง ต้นอ้อย
และขวาน ส่วนงวงนั้นชูขนม คอยประทานความร่ำรวย
และความอุดมสมบูรณ์ให้กับโลก อำนวยผลด้านทรัพย์สินเงินทอง
และความอุดมสมบูรณ์
ปางที่ ๘ : พระอุจฉิษฏะ คณปติ (Uchhishta Ganapati) ปางเสน่หา
และความสำเร็จสมปรารถนา
คาถา “โอม ศรี อุจฉิษฏะ คณปติ ยะนะมะฮา”
วรรณะสีฟ้าเทาดุจเมฆา มี ๖ กร ประทับนั่งโดยพระกรหนึ่ง
โอบอุ้มศักติชายาอยู่ที่ตักด้านซ้าย ส่วนพระกรอื่นถือลูกประคำ
ลูกทับทิม พิณ รวงข้าว และดอกบัว อำนวยผลให้เกิดเสน่ห์
และความสำเร็จในด้านต่างๆตามแต่จะขอพร
ปางที่ ๙ : พระวิฆณา คณปติ (Vighna Ganapati)
ปางขจัดอุปสรรค และแก้ไขปัญหา
คาถา “โอม ศรี วิฆนา คณปติ ยะนะมะฮา”
วรรณะสีทองคำ มี ๘ กร ทรงถือพวงมาลัย ขวาน
ดอกไม้ จักรตรา หอยสังข์ ต้นอ้อย(เป็นคันศร) บ่วงบาศ
และตะบอง อำนวยผลให้ประสบความสำเร็จทั่วไป
ตามแต่จะอธิษฐาน
ปางที่ ๑๐ : พระกษิประ คณปติ (Kshipra Ganapati)
ปางประทานพรให้สำเร็จรวดเร็ว
คาถา “โอม ศรี กษิประ คณปติ ยะนะมะฮา”
วรรณะสีแดงเข้มดุจกุหลาบ มี ๔ กร เป็นผู้ให้ศีลให้พร
ประทานพรให้เกิดผลสำเร็จอย่างรวดเร็ว ทรงถือตะบอง
งาหัก บ่วงบาศ และช่อดอกไม้ อำนวยผลให้ประสบความสำเร็จทั่วไป
ตามแต่จะอธิษฐาน

ไม่มีความคิดเห็น: