สายน้ำไม่หยุดไหลฉันใด ชีวิตผู้คนก็คงดำเนินต่อไปฉันนั้น…..
วิถีชีวิตของกลุ่มชน ความผูกพันระหว่างสายน้ำกับผู้คนเสมือนเป็นเส้นทางทอดยาวไม่สิ้นสุด จะมีซักกี่คนที่ได้มาสัมผัสกับความคลาสสิกของเรือนไม้เก่าแก่ตั้งเรียงรายอยู่ริมแม่น้ำ ซอกมุมโรแมนติกของธรรมชาติบนยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง ผู้คนที่นี่ยังคงผูกพันกับความเป็นรากฐานของตน "ตลาดน้ำอัมพวา" ตลาดน้ำยามเย็น เสน่ห์ชุมชนเก่าแก่ริมน้ำ
อัมพวาเป็นอำเภอเล็ก ๆ อยู่ในจังหวัดสมุทรสงคราม มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำและลำคลองจำนวนมากไหลผ่าน เสมือนเป็นเส้นเลือดหล่อเลี้ยงอัมพวาแต่อดีตถึงปัจจุบัน เช่น แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำแควน้อย คลองจุฬามณี คลองตรง คลองบางผีหลอก คลองโคก ป็นต้น
วิถีชีวิตของกลุ่มชน ความผูกพันระหว่างสายน้ำกับผู้คนเสมือนเป็นเส้นทางทอดยาวไม่สิ้นสุด จะมีซักกี่คนที่ได้มาสัมผัสกับความคลาสสิกของเรือนไม้เก่าแก่ตั้งเรียงรายอยู่ริมแม่น้ำ ซอกมุมโรแมนติกของธรรมชาติบนยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง ผู้คนที่นี่ยังคงผูกพันกับความเป็นรากฐานของตน "ตลาดน้ำอัมพวา" ตลาดน้ำยามเย็น เสน่ห์ชุมชนเก่าแก่ริมน้ำ
อัมพวาเป็นอำเภอเล็ก ๆ อยู่ในจังหวัดสมุทรสงคราม มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำและลำคลองจำนวนมากไหลผ่าน เสมือนเป็นเส้นเลือดหล่อเลี้ยงอัมพวาแต่อดีตถึงปัจจุบัน เช่น แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำแควน้อย คลองจุฬามณี คลองตรง คลองบางผีหลอก คลองโคก ป็นต้น
ก่อนนี้คนทั่วไปรู้จักอัมพวาในชื่อของ บางช้าง และรู้จักเท่าๆ กับ บางกอก เพราะต่างก็เป็นย่านของชาวสวนเหมือนกัน จึงมีคำเรียกกันติดปากว่า “ สวนในบางกอก สวนนอกบางช้าง “ เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะตำแหน่งที่ตั้งและสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ของทั้งสองแห่งคล้ายคลึงกัน ทำให้การปรับตัวของคนเข้ากับสภาพแวดล้อมเพื่อดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในชุมชนเหมือนกัน และโดยตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ของทั้งสองบางนี้ก็น่าจะพัฒนาขึ้นในระยะเวลาที่ใกล้เคียงกัน แต่บางกอกนั้นเป็นที่ตั้งของเมืองที่สำคัญกว่า ทั้งลำน้ำแม่กลอง และลำน้ำเจ้าพระยาต่างก็เป็นลำน้ำที่ใช้ในการคมนาคมติดต่อทางทะเลกับโลกภายนอกเหมือนกัน ลำน้ำเจ้าพระยาก็มีพระศรีอยุธยาและกรุงเทพฯเป็นเมืองท่า ส่วนทางลำน้ำแม่กลองมีคูบัวและเมืองราชบุรีเป็นเมืองท่า จากลักษณะทางภูมิประเทศและหลักฐานทางโบราณคดี สิ่งที่ทำให้เกิดบ้านเกิดชุมชนที่อัมพวานอกเหนือจากการที่มีดอนเหมาะแก่การตั้งบ้านเรือนและเรือกสวนก็คือ เป็นบริเวณที่มีลำน้ำ ลำคลองหลายสายมาบรรจบกัน ทำให้กลายเป็นชุมทางในการคมนาคมของลำน้ำแม่กลองตอนก่อนออกจากทะเล
คนส่วนใหญ่ที่นี่มีอาชีพเกษตรกรรม และการทำสวน สองข้างทางระหว่างที่ขับรถผ่านยังคงเห็นสวนมะพร้าว สวนลิ้นจี่ และต้นไม้เขียวขจีเรียงรายอยู่มาก ซึ่งยังความสมดุลระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติได้เป็นอย่างดี
ที่แห่งนี้ยังเป็นที่ตั้งของ “ตลาดน้ำอัมพวา” ตลาดน้ำที่เปิดให้คนมาเยี่ยมชมในยามเย็น เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เน้นเรื่องชุมชน วิถีชีวิต วัฒนธรรม ภูมิปัญญา ธรรมชาติ และการอนุรักษ์ ซึ่งปัจจุบันได้มีผู้คนหลั่งไหลเข้ามาเยือนเป็นจำนวนมาก ทำให้ตลาดน้ำอัมพวาในวันนี้ดูคับแคบไปถนัดตา
ครั้นพระอาทิตย์เคลื่อนคล้อย ฝูงนกบินกลับรัง แต่เรือหลายลำกลับมุ่งสู่คลองเล็กๆที่คลาคล่ำไปด้วยผู้คน ทำให้บรรยากาศริมน้ำแห่งนี้กลับมีชีวิตชีวาขึ้นอีก แม่ค้าส่งเสียงเจื้อยแจ้วแล้วจอดเรือริมฝั่ง บ้างก็เป็นเรือพาย บ้างก็เป็นเรือหางยาว บนเรือนั้นมีอาหารหลากหลายมาให้เลือกสรร ทั้งอาหารหวาน อาหารคาว ผลไม้ พร้อมกับอัธยาศัยไมตรี ใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส ที่นี่ทำให้เห็นถึงความเสมอภาค และความคล้ายคลึงกันของมนุษย์ที่ไม่ค่อยแตกต่างเช่นในเมืองหลวง
สองฝั่งคลองอัมพวายังมีวิถีชีวิตอีกรูปแบบหนึ่งให้ได้สัมผัสคือ บ้านเรือนเรียงรายเป็นแถวยาว บ้างก็ทาสีใหม่ บ้างก็สร้างใหม่ แต่ยังคงรูปแบบเดิมของการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนไว้ค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ละบ้านจะมีสินค้าพื้นเมือง สินค้าภูมิปัญญา ของที่ระลึก โปสการ์ด งานฝีมือ กาแฟโบราณ อาหารไทย ขนมไทย ผลไม้ มาให้จับจ่ายเช่นกัน มีภูมิปัญญาไทยด้านแพทย์แผนไทย มาคอยบริการนวดฝ่าเท้าให้นักท่องเที่ยวเพื่อคลายเมื่อย ที่น่าสนใจไปกว่านี้คือมีร้านทำขนมไทยในวรรณคดีแห่งรัชกาลที่ 2 แสนจะประณีตงดงามวางขายอยู่ อาทิ ทองเอก จ่ามงกุฏ เสน่ห์จันทร์ ฯลฯ
ฝั่งตรงข้ามมองเห็นผู้คนกลุ่มหนึ่งกำลังร้องเพลงย้อนยุคให้เราฟัง ช่างเข้ากับบรรยากาศเสียจริง บางคนก็นำไวโอลิน กีตาร์ ขลุ่ย มาบรรเลงได้อย่างไพเราะ
สะพานข้ามคลองช่วงเย็นเต็มไปด้วยผู้คนที่เดินเที่ยวชมทัศนียภาพจนแน่นขนัด แต่ทุกคนก็ยังมีรอยยิ้มให้กัน นอกจากนั้นบนสองฝั่งคลองนี้ยังมี โฮมสเตย์ ให้พักด้วย โดยจะเน้นความเป็นอยู่อย่างธรรมชาติเช่นเดียวกับคนในชุมชน ช่วงเช้าก็จะมีพระสงฆ์พายเรือแจวมาบิณฑบาต
กระทั่งตะวันตกดินแล้วความมืดเข้ามาแทนที่ แสงไฟสว่างไสวเต็มตลาดน้ำ เรือพาชมหิ่งห้อยมารอรับริมตลิ่ง เป็นเรือหางยาวขนาดใหญ่บรรจุคนได้ประมาณ 10-20 คน โดยใช้เวลาชมหิ่งห้อยนานนับชั่วโมง พอที่จะซึมซับความทรงจำที่สวยงามไว้ได้หมด เมื่อเรือเริ่มแล่นออกไปตามกระแสน้ำ ทุกคนนั่งมองอยู่ในความสงบ สัมผัสชีวิตริมฝั่งคลองจากภาพที่เห็น
ระหว่างสายน้ำแห่งนี้มีวัดแห่งหนึ่งตั้งโดดเด่นสวยงามตระการตา ชื่อว่า "วัดจุฬามณี" เป็นวัดที่สร้างตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้าปราสาททอง แห่งกรุงศรีอยุธยา สันนิษฐานว่าท้าวแก้วผลึก (น้อย) นายตลาดบางช้าง ต้นราชสกุลบางช้างเป็นผู้สร้างขึ้น บริเวณหลังวัดเดิมเป็นนิวาสสถานของสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ และสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 2 อุโบสถวัดจุฬามณีเดิมสร้างจากไม้สักและไม้เนื้อแข็ง จนถึง พศ. 2511 พระครูโกวิทสมุทรคุณ (หลวงพ่อเนื่อง โกวิโท) ได้เริ่มสร้างอุโบสถหลังใหม่แทนหลังเก่าที่ทรุดโทรม หลังจากหลวงพ่อเนื่องมรณภาพ ในปีพศ. 2530 พระครูโสถิตวิริยากรณ์ (อิฏฐ ภททฺจาโร) ศิษย์เอกของหลวงพ่อเนื่องได้ดำเนินการสืบต่อจนแล้วเสร็จเป็นอุโบสถจตุรมุขหินอ่อน ปูพื้นหินหยกเขียวจากเมืองการาจี ประเทศปากีสถาน ภายในประดิษฐานพระประธานบนฐานสูง ประดับประดาด้วยโคมไฟสวยงาม บนหน้าต่างด้านนอกลงรักฝังมุกเป็นภาพตราพระราชลัญจกร ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลปัจจุบัน บานหน้าต่างด้านในแกะสลักเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชาดก บริเวณผนังโดยรอบพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติ และนิทานชาดก
ออกจากวัดจุฬามณีแล้ว เรือก็พาแล่นไปด้วยความเร็วพอประมาณสู่ผืนน้ำแม่กลอง กระแสลมเริ่มแรง ท่ามกลางความมืดมิด ประกอบกลิ่นไอของสายน้ำทำให้รู้สึกสดชื่นอย่างบอกไม่ถูก กระทั่งเรือเลียบเข้าคลอง ผ่านชุมชน วัด บ้านเรือน และต้นลำพู เครื่องยนต์ก็ดับลง เบื้องหน้าที่เห็นคือ แสงระยิบระยับของหิ่งห้อยนับร้อยนับพันตัวกำลังทอแสงอยู่บนต้นไม้ราวกับแสงไฟประดับต้นคริสต์มาสอย่างไรอย่างนั้น
จนแล้วจนเล่าทุกต้นลำพูจะปรากฎแสงระยิบระยับของหิ่งห้อยเช่นนี้ ช่างสวยงามโดยไม่ต้องแต่งแต้มแม้แต่น้อย เรือแล่นจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ความมืดยิ่งทำให้เห็นความงดงามได้ชัดเจน แสงไฟจากหิ่งห้อยกำลังโต้ตอบแสงดาวบนท้องฟ้า ช่างงดงามยิ่งนัก ผู้คนพากันหลงใหลในความงดงามผสมกลิ่นไอของลำน้ำแม่กลอง
หิ่งห้อยเหล่านี้จะวางไข่ที่ต้นลำพู เมื่อสิ้นอายุก็จะพอดีกับลูกที่ฟักออกเป็นตัว ถ้ามีคนไปตัดต้นลำพูวงจรชีวิตของมันก็จะจบลงไปด้วย หิ่งห้อยก็จะน้อยลง ที่อัมพวาถือเป็นแหล่งที่มีหิ่งห้อยมากที่สุดในประเทศไทย เพราะมีทำเลเหมาะสม พวกมันชื่นชอบน้ำกร่อย โดยจะกินน้ำค้างบนยอดต้นลำพูเป็นอาหาร ช่วงที่เป็นตัวหนอนจะกินหอย ส่วนกลางวันจะหลบอยู่ตามพงหญ้าหรือวัชพืชชื้นแฉะกลางคืนจึงจะออกผสมพันธุ์
ตลาดน้ำยามเย็นแห่งนี้ยังพยายามที่จะคงสภาพเดิมไว้ให้มากที่สุด และรบกวนธรรมชาติน้อยที่สุดเนื่องจากที่นี่มีลักษณะทางกายภาพเป็นคูคลอง ขนบประเพณีดั้งเดิมของคนกลุ่มนี้ก็ยังมีความต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน สะท้อนให้เห็นภาพชุมชนไทยโบราณที่ใช้ประโยชน์จากน้ำ วีถีชีวิตความเป็นอยู่ตลอดจนลักษณะนิสัยที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเอื้ออาทรซึ่งกันและกันแม้วันนี้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน แต่”ตลาดน้ำอัมพวา”ยังคงยืนหยัดในความเป็นวิถีชุมชนดั้งเดิมได้เป็นอย่างดี ดังนั้นสิ่งที่สำคัญก็คือระวังอย่าให้ใครไปทำลายสิ่งแวดล้อม เมือง วิถีชาวบ้าน แถบนี้เลย ให้พวกเขาได้มีโอกาสได้พัฒนาชุมชนแบบยั่งยืน และเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้กับคนทั่วไปได้สัมผัสบรรยากาศที่ใกล้ชิดกับธรรมชาติในวันหยุดพักผ่อน อีกทั้งยังเป็นการกระจายรายได้สู่ชุมชนอีกด้วย ไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนแปลงแค่ไหน ทรัพยากรธรรมชาติจะเหือดหายไป ตลาดน้ำบางแห่งปิดฉากลงอย่างถาวร แต่วิถีชีวิตติดสายน้ำแห่งนี้จะยังคงมีชีวิตชีวาตลอดไป
คนส่วนใหญ่ที่นี่มีอาชีพเกษตรกรรม และการทำสวน สองข้างทางระหว่างที่ขับรถผ่านยังคงเห็นสวนมะพร้าว สวนลิ้นจี่ และต้นไม้เขียวขจีเรียงรายอยู่มาก ซึ่งยังความสมดุลระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติได้เป็นอย่างดี
ที่แห่งนี้ยังเป็นที่ตั้งของ “ตลาดน้ำอัมพวา” ตลาดน้ำที่เปิดให้คนมาเยี่ยมชมในยามเย็น เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เน้นเรื่องชุมชน วิถีชีวิต วัฒนธรรม ภูมิปัญญา ธรรมชาติ และการอนุรักษ์ ซึ่งปัจจุบันได้มีผู้คนหลั่งไหลเข้ามาเยือนเป็นจำนวนมาก ทำให้ตลาดน้ำอัมพวาในวันนี้ดูคับแคบไปถนัดตา
ครั้นพระอาทิตย์เคลื่อนคล้อย ฝูงนกบินกลับรัง แต่เรือหลายลำกลับมุ่งสู่คลองเล็กๆที่คลาคล่ำไปด้วยผู้คน ทำให้บรรยากาศริมน้ำแห่งนี้กลับมีชีวิตชีวาขึ้นอีก แม่ค้าส่งเสียงเจื้อยแจ้วแล้วจอดเรือริมฝั่ง บ้างก็เป็นเรือพาย บ้างก็เป็นเรือหางยาว บนเรือนั้นมีอาหารหลากหลายมาให้เลือกสรร ทั้งอาหารหวาน อาหารคาว ผลไม้ พร้อมกับอัธยาศัยไมตรี ใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส ที่นี่ทำให้เห็นถึงความเสมอภาค และความคล้ายคลึงกันของมนุษย์ที่ไม่ค่อยแตกต่างเช่นในเมืองหลวง
สองฝั่งคลองอัมพวายังมีวิถีชีวิตอีกรูปแบบหนึ่งให้ได้สัมผัสคือ บ้านเรือนเรียงรายเป็นแถวยาว บ้างก็ทาสีใหม่ บ้างก็สร้างใหม่ แต่ยังคงรูปแบบเดิมของการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนไว้ค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ละบ้านจะมีสินค้าพื้นเมือง สินค้าภูมิปัญญา ของที่ระลึก โปสการ์ด งานฝีมือ กาแฟโบราณ อาหารไทย ขนมไทย ผลไม้ มาให้จับจ่ายเช่นกัน มีภูมิปัญญาไทยด้านแพทย์แผนไทย มาคอยบริการนวดฝ่าเท้าให้นักท่องเที่ยวเพื่อคลายเมื่อย ที่น่าสนใจไปกว่านี้คือมีร้านทำขนมไทยในวรรณคดีแห่งรัชกาลที่ 2 แสนจะประณีตงดงามวางขายอยู่ อาทิ ทองเอก จ่ามงกุฏ เสน่ห์จันทร์ ฯลฯ
ฝั่งตรงข้ามมองเห็นผู้คนกลุ่มหนึ่งกำลังร้องเพลงย้อนยุคให้เราฟัง ช่างเข้ากับบรรยากาศเสียจริง บางคนก็นำไวโอลิน กีตาร์ ขลุ่ย มาบรรเลงได้อย่างไพเราะ
สะพานข้ามคลองช่วงเย็นเต็มไปด้วยผู้คนที่เดินเที่ยวชมทัศนียภาพจนแน่นขนัด แต่ทุกคนก็ยังมีรอยยิ้มให้กัน นอกจากนั้นบนสองฝั่งคลองนี้ยังมี โฮมสเตย์ ให้พักด้วย โดยจะเน้นความเป็นอยู่อย่างธรรมชาติเช่นเดียวกับคนในชุมชน ช่วงเช้าก็จะมีพระสงฆ์พายเรือแจวมาบิณฑบาต
กระทั่งตะวันตกดินแล้วความมืดเข้ามาแทนที่ แสงไฟสว่างไสวเต็มตลาดน้ำ เรือพาชมหิ่งห้อยมารอรับริมตลิ่ง เป็นเรือหางยาวขนาดใหญ่บรรจุคนได้ประมาณ 10-20 คน โดยใช้เวลาชมหิ่งห้อยนานนับชั่วโมง พอที่จะซึมซับความทรงจำที่สวยงามไว้ได้หมด เมื่อเรือเริ่มแล่นออกไปตามกระแสน้ำ ทุกคนนั่งมองอยู่ในความสงบ สัมผัสชีวิตริมฝั่งคลองจากภาพที่เห็น
ระหว่างสายน้ำแห่งนี้มีวัดแห่งหนึ่งตั้งโดดเด่นสวยงามตระการตา ชื่อว่า "วัดจุฬามณี" เป็นวัดที่สร้างตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้าปราสาททอง แห่งกรุงศรีอยุธยา สันนิษฐานว่าท้าวแก้วผลึก (น้อย) นายตลาดบางช้าง ต้นราชสกุลบางช้างเป็นผู้สร้างขึ้น บริเวณหลังวัดเดิมเป็นนิวาสสถานของสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ และสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 2 อุโบสถวัดจุฬามณีเดิมสร้างจากไม้สักและไม้เนื้อแข็ง จนถึง พศ. 2511 พระครูโกวิทสมุทรคุณ (หลวงพ่อเนื่อง โกวิโท) ได้เริ่มสร้างอุโบสถหลังใหม่แทนหลังเก่าที่ทรุดโทรม หลังจากหลวงพ่อเนื่องมรณภาพ ในปีพศ. 2530 พระครูโสถิตวิริยากรณ์ (อิฏฐ ภททฺจาโร) ศิษย์เอกของหลวงพ่อเนื่องได้ดำเนินการสืบต่อจนแล้วเสร็จเป็นอุโบสถจตุรมุขหินอ่อน ปูพื้นหินหยกเขียวจากเมืองการาจี ประเทศปากีสถาน ภายในประดิษฐานพระประธานบนฐานสูง ประดับประดาด้วยโคมไฟสวยงาม บนหน้าต่างด้านนอกลงรักฝังมุกเป็นภาพตราพระราชลัญจกร ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลปัจจุบัน บานหน้าต่างด้านในแกะสลักเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชาดก บริเวณผนังโดยรอบพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติ และนิทานชาดก
ออกจากวัดจุฬามณีแล้ว เรือก็พาแล่นไปด้วยความเร็วพอประมาณสู่ผืนน้ำแม่กลอง กระแสลมเริ่มแรง ท่ามกลางความมืดมิด ประกอบกลิ่นไอของสายน้ำทำให้รู้สึกสดชื่นอย่างบอกไม่ถูก กระทั่งเรือเลียบเข้าคลอง ผ่านชุมชน วัด บ้านเรือน และต้นลำพู เครื่องยนต์ก็ดับลง เบื้องหน้าที่เห็นคือ แสงระยิบระยับของหิ่งห้อยนับร้อยนับพันตัวกำลังทอแสงอยู่บนต้นไม้ราวกับแสงไฟประดับต้นคริสต์มาสอย่างไรอย่างนั้น
จนแล้วจนเล่าทุกต้นลำพูจะปรากฎแสงระยิบระยับของหิ่งห้อยเช่นนี้ ช่างสวยงามโดยไม่ต้องแต่งแต้มแม้แต่น้อย เรือแล่นจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ความมืดยิ่งทำให้เห็นความงดงามได้ชัดเจน แสงไฟจากหิ่งห้อยกำลังโต้ตอบแสงดาวบนท้องฟ้า ช่างงดงามยิ่งนัก ผู้คนพากันหลงใหลในความงดงามผสมกลิ่นไอของลำน้ำแม่กลอง
หิ่งห้อยเหล่านี้จะวางไข่ที่ต้นลำพู เมื่อสิ้นอายุก็จะพอดีกับลูกที่ฟักออกเป็นตัว ถ้ามีคนไปตัดต้นลำพูวงจรชีวิตของมันก็จะจบลงไปด้วย หิ่งห้อยก็จะน้อยลง ที่อัมพวาถือเป็นแหล่งที่มีหิ่งห้อยมากที่สุดในประเทศไทย เพราะมีทำเลเหมาะสม พวกมันชื่นชอบน้ำกร่อย โดยจะกินน้ำค้างบนยอดต้นลำพูเป็นอาหาร ช่วงที่เป็นตัวหนอนจะกินหอย ส่วนกลางวันจะหลบอยู่ตามพงหญ้าหรือวัชพืชชื้นแฉะกลางคืนจึงจะออกผสมพันธุ์
ตลาดน้ำยามเย็นแห่งนี้ยังพยายามที่จะคงสภาพเดิมไว้ให้มากที่สุด และรบกวนธรรมชาติน้อยที่สุดเนื่องจากที่นี่มีลักษณะทางกายภาพเป็นคูคลอง ขนบประเพณีดั้งเดิมของคนกลุ่มนี้ก็ยังมีความต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน สะท้อนให้เห็นภาพชุมชนไทยโบราณที่ใช้ประโยชน์จากน้ำ วีถีชีวิตความเป็นอยู่ตลอดจนลักษณะนิสัยที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเอื้ออาทรซึ่งกันและกันแม้วันนี้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน แต่”ตลาดน้ำอัมพวา”ยังคงยืนหยัดในความเป็นวิถีชุมชนดั้งเดิมได้เป็นอย่างดี ดังนั้นสิ่งที่สำคัญก็คือระวังอย่าให้ใครไปทำลายสิ่งแวดล้อม เมือง วิถีชาวบ้าน แถบนี้เลย ให้พวกเขาได้มีโอกาสได้พัฒนาชุมชนแบบยั่งยืน และเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้กับคนทั่วไปได้สัมผัสบรรยากาศที่ใกล้ชิดกับธรรมชาติในวันหยุดพักผ่อน อีกทั้งยังเป็นการกระจายรายได้สู่ชุมชนอีกด้วย ไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนแปลงแค่ไหน ทรัพยากรธรรมชาติจะเหือดหายไป ตลาดน้ำบางแห่งปิดฉากลงอย่างถาวร แต่วิถีชีวิตติดสายน้ำแห่งนี้จะยังคงมีชีวิตชีวาตลอดไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น