เทคโนโลยีกับศิลปประจำชาติ บรรจงวาดความงาม
ต่างมุมมองกันอย่างไร?
เมื่อครั้งอดีตกาล มนุษย์นั้นเริ่มรู้จักกับงานศิลปะตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์
เมื่อครั้งอดีตกาล มนุษย์นั้นเริ่มรู้จักกับงานศิลปะตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์
ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่า ศิลปะเป็นศาสตร์ที่สร้างทุกสิ่ง ศิลปะได้ปรับปรุงและ
เปลี่ยนแปลงทุกอย่างบนโลกนี้ เมื่อระยะเวลาแต่ละยุคสมัยล่วงผ่านไป
ศิลปะได้ถูกพัฒนาและเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดความเจริญเกิดขนบธรรมเนียม
ประเพณีและวัฒนธรรมอันหลากหลายแต่ละชนชาติขึ้นมา ทำให้เกิดแนวคิด
และการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ เกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ แทนที่ของดั้งเดิมที่มี
มาก่อน รู้จักนำธรรมชาติมาทำเป็นวัตถุดิบมาประดิษฐ์ดัดแปลง รู้จักนำงาน
ศิลปะมาประยุกต์หรือตกแต่งอาคารสถานที่บ้านเรือน นำศิลปะมาพัฒนาและ
ปรับปรุงเพื่อประโยชน์ใช้สอยหรือใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งได้มีการค้นพบ
มีหลักฐานยืนยันอยู่ตามพื้นทีกระจายอยู่แต่ละประเทศทั่วทุกมุมโลก อาจ
กล่าวได้เลยว่า ศิลปะนั้นถูกพัฒนางานควบคู่ไปกับเทคโนโลยีของแต่ละยุค
สมัยด้วยกาลเวลาที่ไม่เคยหยุดนิ่งอยู่กับที่ ดังนี้เองเมื่อศิลปประจำชาตินั้น
ถูกเปลี่ยนไปด้วยทัศนคติ ด้วยกลไกหรือเครื่องมือต่าง ๆ การคงอยู่ของงาน
ศิลปะ ความพอดีในงานศิลปะคุณค่าและความงามนั้น คงเหลืออยู่ในตัวของ
มันเองหรือไม่ งานศิลปะประจำชาติของเราเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาท
เปลี่ยนแปลงในด้านใด คุณค่าความงามของงานศิลปะนั้นวัดจากเทคโนโลยี
หรือวัดด้วยคุณค่าของจิตและวิญญาณในประเทศไทยได้มีการค้นพบหลักฐาน
ต่างๆ ในทางศิลปกรรมทั่วทุกภาคของประเทศ ทั้งหลักฐานทางโบราณสถาน
และโบราณวัตถุ อาทิเช่น ภาพเขียนสีโบราณโดยฝีมือมนุษย์สมัยยุคก่อน
ประวัติศาสตร์ ที่อุทยานแห่งชาติผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี หรือเครื่องปั้น
ดินเผาในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัด
อุดรธานี และจังหวัดต่าง ๆ กระจายกันออกไปทั่วประเทศ แสดงให้เห็นถึง
ความเจริญรุ่งเรืองครั้งอดีตของแต่ละพื้นที่ ศิลปประจำชาติไทยเรานั้นสืบ
ทอดกันมาแต่ละยุคสมัย แต่ละแขนงแตกต่างกันออกไปซึ่งแต่ละแขนงนั้น
ก็ได้มีการทะนุบำรุงรักษามาจนถึงปัจจุบัน ทั้งทางด้านเทคนิคและองค์
ประกอบส่วนต่างๆ ของวิชาเหล่านั้นซึ่งศาสตร์ศิลป์แต่ละแขนงก็จำเป็นที่
จะต้องมีการพัฒนา เพื่อให้ง่ายต่อการสร้างสรรค์ง่ายต่อสังคม ตามสภาพ
พื้นที่ของชุมชน สภาพของภูมิประเทศ ยกตัวอย่างการเปลี่ยนแปลง
ของเทคโนโลยีต่องานศิลปกรรม เช่นโครงสร้างบ้านเรือนไทยที่มีความงาม
เป็นเอกลักษณ์ของไทยมาแต่โบราณ ในอดีตบ้านเรือนไทยถูกสร้างขึ้นด้วย
ไม้ทั้งเรือนยกพื้นสูง มีลักษณะเข้ากับสภาพแวดล้อมทางด้านภูมิศาสตร์
เพื่อความเหมาะสมกับสภาพดินฟ้าอากาศ มีความงดงามอย่างลงตัว
สอดคล้องกับธรรมชาติ เมื่อวิวัฒนาการความเจริญบวกกับเทคโนโลยีก้าว
เข้ามาผสมผสานในงานสถาปัตยกรรมไทย เรือนไทยจึงถูกดัดแปลงจากการ
สร้างด้วยไม้สักทั้งเรือน เปลี่ยนแปลงโดยใช้ปูนเข้ามามีส่วนช่วยทำให้
บ้านเรือนไทยแข็งแรงยิ่งขึ้น ใช้สีที่สังเคราะห์มาทากันมดกันแมงและแมลง
ต่าง ๆ หรือครึ่งบนเป็นไม้ ครึ่งล่างเป็นปูนผสมผสานกันเมื่อมองดูแล้วไม่มี
ความงดงามเหลืออยู่เลยความเป็นเอกลักษณ์แบบฉบับเฉพาะ ความลงตัว
ของเรือนไทยได้ถูกเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ทำให้งานศิลปะที่อยู่ในรูปแบบ
ของสถาปัตยกรรมไทยเปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลง ไม่เจริญทางด้าน
ความงาม มุมมองเอกลักษณ์ที่ลงตัวขาดหายไปอย่างสิ้นเชิงในงานศิลปะ
เทคโนโลยีเปลี่ยนแต่ศิลปะไม่เปลี่ยนศิลปะ คือ ผลแห่งความคิดสร้างสรรค์
ของมนุษย์ที่แสดงออกมาในรูปลักษณ์ต่างๆ ให้ปรากฏซึ่งสุนทรียภาพความ
ประทับใจ ความสะเทือนอารมณ์ ความอัจฉริยภาพ พุทธิปัญญา
ประสบการณ์ รสนิยมและทักษะของแต่ละคน เพื่อความพอใจ ความรื่นรมย์
ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณีหรือความเชื่อทางศาสนา (พจนานุกรม
ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, 2530) การที่ศิลปะนั้นได้มีการเผยแพร่พัฒนาก้าว
ไปในแต่ละยุคสมัยนั้น เทคโนโลยีได้เข้ามามีส่วนช่วยอย่างอาจเรียกได้ว่า
มนุษย์ย่อมที่จะรู้จักการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ไม่หยุดอยู่กับที่พัฒนา
จากสิ่งที่เป็นอยู่ ทำให้เกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ หลากหลายแนวความคิด
เกิดแนวทางในการสร้างสรรค์ต้นแบบ แนวคิดนั้นเปรียบได้ คือ การนำ
เทคโนโลยีเข้ามาร่วมช่วยจัดของเดิม หรือสิ่งเดิมที่มีนำมาพัฒนาเปลี่ยน
แปลงไปในทางที่ดีขึ้นมีรูปแบบที่ดีเป็นระบบสะดวกสบายมากยิ่งขึ้นเป็นการ
นำเอาความรู้ในทางวิทยาศาสตร์มาช่วยใช้ในการประดิษฐ์สิ่งต่างๆ เพื่อให้
เกิดประโยชน์สูงสุด นั่นก็คือการนำเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการเปลี่ยน
แปลงศาสตร์ต่างๆของศิลปะ อาทิเช่น จากเดิมนั้นศิลปะเป็นเพียงแค่ดินที่
คนนำขึ้นมาปั้นเป็นรูปต่าง ๆ และเปลี่ยนสภาพเป็นเครื่องใช้ไม้สอย หรือ
เครื่องประดับในชีวิตความเป็นอยู่ในแต่ละยุคสมัย ปัจจุบันนี้เทคโนโลยีเข้า
มาช่วยทำให้ศิลปะนั้นง่ายขึ้นสะดวกรวดเร็ว ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผล
ผลิตมากยิ่งขึ้น มีกรรมวิธีที่หลากหลาย ไม่จำเป็นแล้วสำหรับงานศิลปะ
ที่ผลิตขึ้นด้วยมือเพียงอย่างเดียว ดังนี้เองการนำเทคโนโลยีเข้ามาจัดการ
ในเรื่องต่างๆนั้น ทำให้มนุษย์ลืมที่จะอนุรักษ์รักษากรรมวิธีที่มีอยู่เดิม
คิดเรื่องความสะดวกสบายการทำงานที่ลดขั้นตอน และทำงานโดยออก
แรงน้อยที่สุดไม่ต้องใช้ทักษะมากนักในการสร้างสรรค์เพราะคอมพิวเตอร์
สามารถทำแทนได้เกือบทั้งสิ้น นี่แหล่ะคือปัจจุบัน เขาทำกันอย่างไร
ตัวเราเองก็ปฏิบัติตามกระแสกับเขาไปด้วย มนุษย์จึงลืมคิดไปถึงภูมิหลัง
ต้นตอแห่งความแท้จริงที่ธรรมชาติเป็นผู้กำเนิดชีวิต ชีวิตสร้างศิลปะ
ศิลปะแต่งเติมสร้างสรรค์ให้กับโลกของเรา การนำเทคโนโลยีเข้ามาเป็น
ตัวช่วยในการผลิตงานศิลปะประจำชาติ นับเป็นเรื่องที่หลายคนยังคงตั้ง
ข้อสงสัยว่า คุณภาพของงานความงามที่เป็นเอกลักษณ์ลงตัวของ
งานนั้นจะถดถอยด้อยลงไป หรือเทคโนโลยีทำให้งานศิลปะมี
ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อาจต้องมองกันในอีกหลายแง่มุม อาทิเช่นเรื่อง
ของสีฝุ่น(Tempera) ซึ่งเป็นสีเริ่มแรกของมนุษย์ ขั้นตอนในการผลิตนั้น
ได้นำมาจากธรรมชาติโดยทั้งสิ้น เช่น ดินหิน แร่ธาตุ พืช สัตว์ ผ่าน
กระบวนการขั้นตอนต่าง ๆ ทำให้ละเอียดเป็นผง ผสมกาวและน้ำที่ได้มา
จากพืชหรือส่วนต่างๆ ของสัตว์ ซึ่งในงานจิตรกรรมไทยของเรานั้นใช้
ยางมะขวิด กาวกระถิน หรือกาวมะขามรองพื้น ซึ่งจะเป็นตัวช่วยทำให้สี
เกาะติดพื้นผิวหน้าวัตถุไม่หลุดได้ง่าย คุณสมบัตินั้นอยู่ได้นานนับหลาย
ร้อยปี ในอดีตนั้นสีฝุ่นจึงมักใช้ในการเขียนภาพทั่วไป โดยเฉพาะภาพ
ฝาผนัง ครั้งสมัยหนึ่งนิยมเขียนภาพฝาผนังที่เรียกว่า สีปูนเปียก (Fresco)
โดยใช้สีฝุ่นเขียนในขณะที่ปูนฉาบผนังยังไม่แห้งดี เนื้อสีจะซึมเข้าไปใน
เนื้อปูนทำให้ภาพไม่หลุดลอกง่าย ปัจจุบันเมื่อมีการพัฒนาในสากลโลกขึ้น
สีฝุ่นจึงได้ถูกพัฒนาลักษณะเป็นผงหาซื้อได้ไม่ยากมีขายอยู่ทั่วไป การใช้
งานก็ง่ายเพียงแค่นำสีมาผสมกับน้ำโดยไม่ต้องผสมกาว เนื่องจากใน
กระบวนการผลิตได้ทำการผสมมาเสร็จสิ้นสามารถนำไปใช้ได้เลย ซึ่งการ
ใช้งานเหมือนกับสีโปสเตอร์ ทำให้สะดวกรวดเร็วไม่ต้องเสียเวลามาผลิตสี
ด้วยตนเอง และเทคโนโลยีนี้เองก็เข้ามามีบทบาทในยุคปัจจุบัน ไม่ใช่เพียง
แต่เรื่องของสีในงานศิลปะเพียงอย่างเดียว เทคโนโลยีได้เข้ามามีส่วนช่วย
ในการพัฒนาปรับปรุงงานด้านต่าง ๆ อีกหลายประเภท ไม่ว่าจะเข้ามาใช้ใน
ทางทหาร ในทางการแพทย์ ในทางเศรษฐกิจและด้านต่าง ๆ อีกมากมาย
ล้วนแล้วแต่ต้องพึ่งเทคโนโลยีด้วยกันทั้งสิ้น เทคโนโลยีคืองาน ศิลปะคือ
งาม
เมื่อกล่าวถึงเทคโนโลยีในงานศิลปะ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
พ.ศ. 2542 ได้ให้ความหมาย เทคโนโลยี ไว้ว่า วิทยาการที่นำเอาความรู้
ทางวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติ และอุตสาห
กรรมซึ่งการนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ในด้านต่าง ๆ นั้นในยุคปัจจุบัน
นับว่าเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ด้านงานศิลปะก็เช่นกัน การนำเทคโนโลยีเข้ามามี
ส่วนช่วยในการผลิตงานศิลปะ ลดขั้นตอนในการผลิต สร้างความสะดวก
สบายและพัฒนางานศิลปะให้ดีขึ้นในปัจจุบันเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาท
ในงานศิลปะแทบทุกด้านโดยการผลิตงานนั้นมีการผ่านกระบวนการขั้นตอน
และเทคนิคสมัยใหม่ มีระบบที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการสร้างสรรค์
งานผลิตได้ไม่จำกัดจำนวนไม่จำกัดเวลาและสถานที่ เป็นการผลิตงานศิลป
วัตถุที่ซ้ำไปซ้ำมาผลิตในรูปแบบการลอกเลียนแบบ งานเดิมให้ได้ใกล้เคียง
มากที่สุด ไม่ว่างานศิลปะชิ้นนั้นจะอยู่ในรูปแบบเชิงธุรกิจอยู่ในรูปแบบของ
เศรษฐกิจ ไม่จำกัดรูปลักษณ์ ไม่คำนึงถึงความสวยงาม แต่เน้นไปใน
ช่องทางการแข่งขัน เพื่อการเอาชนะไม่มีความพอเพียงในคุณค่าของงาน
หากเปรียบเทียบแล้ว ศิลปะในยุคเทคโนโลยี คือ การผลิตงานศิลปะขึ้นมา
เพื่อทดแทนแรงงาน ทดแทนธรรมชาติ ทดแทนจำนวนที่ขาดหายไป
เพิ่มจำนวนงานศิลปะที่สังคมยังต้องการอยู่ ให้ได้ใช้สอยให้ได้ตามความ
ต้องการของมนุษย์ซึ่งมีทั้งทางด้านที่ดีที่นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยส่งเสริม
การสร้างงานศิลปะ และในทางที่หลายคนนั้นต้องยอมรับถึงคุณค่าที่ขาด
หายไปจากงานศิลปะในปัจจุบัน การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยกระบวนการ
ผลิตถ่ายทอดออกมาเป็นงานศิลปประจำชาติไทยเรานั้น เห็นได้ว่าเป็น
เรื่องที่ค่อนข้างลำบาก ใช่ว่าไม่สามารถนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในงาน
ศิลปะได้ในทุกด้าน เทคโนโลยีสามารถเข้ามาช่วยได้เพียงบางส่วนใน
งานศิลปะประจำชาติ ช่วยให้ลดเรื่องของต้นทุน วัสดุ-อุปกรณ์ ขั้นตอน
การผลิต ลดขั้นตอนเรื่องของเวลา ในการสร้างงานเป็นอย่างมาก ซึ่งเป็น
ผลดีต่องานศิลปะไทย แต่ในบางครั้งการที่ศิลปะนั้นมีลักษณะที่เป็น
หนึ่งเดียวมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ไม่ว่ากาลเวลาเปลี่ยนแปลงไปเท่าใด
ก็ยิ่งทำให้ศิลปะชิ้นนั้นกลับมีคุณค่ามากยิ่งขึ้น เกิดความขลังน่าศรัทธา
และลอกเลียนแบบได้ยาก เนื่องจากการให้คุณค่าทางอารมณ์ในการ
สร้างสรรค์ต่างกัน การใช้ฝีมือความสามารถที่ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม
ในช่วงนั้น ๆ ต่างกันทั้งยุคสมัย ต่างกันทั้งเวลา ต่างกันที่จุดมุ่งหมาย
ในการสร้างงานศิลปะ และที่สำคัญการสร้างสรรค์โดยใช้จิตวิญญาณ
อารมณ์ความรู้สึกที่สอดแทรกลงไปในงานศิลปะดูแล้วเสมือนทำให้งาน
ศิลปะนั้นมีชีวิต สอดแทรกความเป็นจริงจินตนาการลงบนงานที่มีคุณค่า
ต่อตัวผู้สร้างหรือศิลปิน ซึ่งการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการผลิตงาน
ศิลปะในปัจจุบัน ก็ไม่อาจทำได้ถึงจะคัดลอกเลียนแบบ หรือสร้างสรรค์
ได้คล้ายคลึงมากเพียงใดก็ไม่อาจที่จะเปรียบเทียบงานดั้งเดิมหรือศิลปะ
ที่มีอยู่ก่อนแล้วได้ อาจเรียกได้ว่ายังขาดความงามหรือสุนทรียภาพของ
งานศิลปะในมุมมองของศิลปินผู้สืบสานและสร้างสรรค์งานศิลปะในแต่
ละยุคสมัย ส่วนสำคัญที่เป็นบทสรุปของงานศิลปะในทุกชิ้นที่ถูกสร้าง
ขึ้นมา ศิลปินหรือคนในวงการศิลปะเรียกกันว่า ความงามหรือ
สุนทรียภาพ “สุนทรีภาพ (Aisthetic) หมายถึง ความซาบซึ้งในคุณค่า
ของสิ่งที่งาม ไพเราะ หรือรื่นรมย์ ไม่ว่าจะเป็นธรรมชาติ หรือศิลปะ”
(พจนานุกรมศัพท์ศิลปะ. 2530 : 6) ซึ่งความรู้สึกซาบซึ้งในคุณค่า
ดังกล่าวนี้เองเกิดจากการได้พบเห็นหรือสัมผัส จนเกิดอารมณ์ความรู้สึก
ความประทับใจ นั่นก็คือความงามที่มีคุณค่า ความงามในที่นี้เป็นเรื่อง
ของคุณค่า (Value) ที่เป็นคุณค่าทางสุนทรียะ แตกต่างจากคุณค่าทาง
เศรษฐกิจ ที่เป็นราคาของวัตถุ แต่เป็นคุณค่าต่อจิตใจ ความงามเกิดขึ้น
ด้วยอารมณ์ มิใช่ด้วยเหตุผล ความคิดหรือข้อเท็จจริง ความงามมี 2ขั้น
ใหญ่ๆ คือ ความงามขั้นธรรมดาสามัญ เกิดจากเราไปสัมผัสกับสิ่งของ
ที่เราชอบ เราพึงพอใจธรรมดาทั่วไป และความงามขั้นต่อไป เพื่อจะให้
จิตเกิดความพึงพอใจขั้นสุดยอด เราต้องพยายามไปสัมผัสกับผลงาน
ทางศิลปะซึ่งมีองค์ประกอบหนึ่งสำคัญหลายอย่าง แต่ละอย่างล้วนแต่
สามารถสร้างความรู้สึกสร้างอารมณ์ให้แก่จิตได้ด้วยประการต่าง ๆ”
คุณค่าของความงามที่ได้ถูกสร้างสรรค์ปรุงแต่งจากธรรมชาติ หรือในตัว
ของมนุษย์ถูกถ่ายทอดจากประสาทสัมผัสทั้ง 5 เข้าสู่จิตวิญญาณออกมา
เป็นอารมณ์ และความรู้สึกประทับใจนั่นเอง พอดีกับเทคโนโลยี พอดีกับ
ศิลปะ ความพอดีมีอยู่ในงานศิลปะต่อเมื่อผู้สร้างสรรค์งานเกิดความสุข
เมื่อถึงจุดประสงค์และเป้าหมายที่ตัวของผู้สร้างที่ได้ตั้งเอาไว้รู้จักพอเมื่อ
เกิดสุนทรียภาพ รู้จักที่จะพอในการที่ได้สร้างงานขึ้นมาจนเกิดความ
ประทับใจ นั่นคือศิลปะในขั้นแห่งความพอดี การบูรณาการเทคโนโลยีกับ
งานศิลปะในปัจจุบัน เปรียบเสมือนกับการผลิตงานศิลปวัตถุที่ซ้ำแล้ว
ซ้ำเล่า ขาดการเอาใจใส่ในการผลิตสร้างสรรค์ สร้างสรรค์งานขึ้นมาเพื่อ
ตอบสนองสังคม ความกระหาย ความต้องการ ขาดความพอดีในตัวของ
งานศิลปะ ใช้งานศิลปะเป็นตัวตัดสินความถูกผิดในสังคมปัจจุบันที่สังคม
นั้นใช้ชีวิตเพื่อการอยู่รอด รอให้หมดเวลาไปวัน ๆ ในวัฏจักรของชีวิต
อยู่เพื่อหน้าที่บวกกับความรับผิดชอบ และภาระอีกหลายประการของ
ผู้สร้างงานศิลปะในยุคปัจจุบัน ซึ่งแตกต่างจากศิลปะที่แท้จริงในอดีต
ศิลปะที่อยู่ในรูปแบบบริสุทธิ์การบูชาต่องานศิลปะมีพื้นฐานอยู่ในพิธีกรรม
ประเพณี และวัฒนธรรมศิลปะนั้นถูกสร้างสรรค์ขึ้นตามความเชื่อ
ความศรัทธา และไม่มีการลบหลู่ดูหมิ่นผู้ที่สร้าง หากแต่จะให้ความเคารพ
ยกย่องให้เกียรติต่อผู้ที่สร้างงานศิลปะนั้นขึ้นมา ใช้งานศิลปะในทางที่ดี
งาม ใช้ศิลปะในทางที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ดังนั้นศิลปะในครั้งอดีต
แต่ละยุค แต่ละชนชาติ ต่างชนชั้นวรรณะจึงถูกยอมรับในฐานะเป็นจุดเกิด
แห่งความจริงที่ถูกถ่ายทอดจากอารมณ์ที่แท้จริง ศิลปินในยุคก่อนมุ่ง
ต้องการที่จะถ่ายทอดศิลปะโดยนำเสนอเรื่องราวต่าง ๆในยุคนั้น ๆออกมา
ในด้านบทกวีบ้าง ด้านการสร้างสรรค์งานบ้าง แสดงถึงความจริงใจ
มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์อย่างมีจุดมุ่งหมาย บวกกับความงามที่ลงตัว
ประกอบกับองค์ประกอบ ตัวแปรด้านต่าง ๆ ในสภาพแวดล้อมช่วงเวลานั้น
บ่งบอกถึงคุณค่า และเอกลักษณ์ประจำในแต่ละท้องถิ่น โดยไม่ต้องมี
คำอธิบายหรือเอกสารต่างๆ ประกอบ เมื่อเราได้มองหรือสัมผัสแล้วก็จะ
สะท้อนคุณค่างานศิลปะ บอกถึงความเป็นมา และสุดท้ายก็จบลงด้วย
ตัวของมันเองโดยที่ไม่จำเป็นต้องใช้สื่อหรือคำบอกกล่าวความงามใช้จิต
วิเคราะห์งานทำให้เกิดความสำราญขึ้นภายในจิตใจสิ่งใดที่เทคโนโลยีนั้น
ไม่สามารถเข้ามามีส่วนร่วมเกี่ยวข้องในงานศิลปะได้ ก็ไม่ควรนำมาใช้
เราต้องรู้จักคำว่าพอดีกับงานศิลปะ และพอดีกับงานเทคโนโลยีปล่อย
ให้ธรรมชาตินั้นสร้างสรรค์ธรรมชาติ จึงเป็นสิ่งดีที่สุด
บทสรุปของเทคโนโลยีกับงานศิลปะ เทคโนโลยีมีส่วนช่วยผลักดันและ
บทสรุปของเทคโนโลยีกับงานศิลปะ เทคโนโลยีมีส่วนช่วยผลักดันและ
พัฒนางานศิลปะให้มีความก้าวหน้าทันสมัย สามารถทำให้งานศิลปะ
ที่หลายคนว่าเป็นเรื่องยากเปลี่ยนเป็นเรื่องที่ง่าย เทคโนโลยีสามารถช่วย
ลดต้นทุนการผลิตงาน อีกทั้งยังเพิ่มจำนวนปริมาณงานได้ไม่จำกัด
จำนวน แต่ถึงอย่างไรนั้นเทคโนโลยีก็ยังมีขีดจำกัดต่อการสร้างสรรค์งาน
การที่เทคโนโลยีเป็นตัวช่วยต่อเติมงานศิลปะในปัจจุบัน หรือศิลปประจำ
ชาติเรานั้น มุมมองจุดประสงค์ของการสร้างงานนั้นแตกต่างกันตั้งแต่
แรกเริ่มแล้วอีกทั้งคุณภาพ และคุณค่าของงานยังแตกต่างกันอย่าง
สิ้นเชิง ซึ่งการนำเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนช่วยในงานศิลปประจำชาติ
เรานั้นจึงต้องรู้จักที่จะนำมาใช้อย่างพอดีพอประมาณ ศาสตร์ศิลปะ
บางแขนง เทคโนโลยีในปัจจุบันไม่สามารถนำมาช่วยเสริมเติมแต่งได้
เนื่องจากเป็นศิลปะเฉพาะทาง ซึ่งต้องใช้กรรมวิธีแต่สร้างงานขึ้นมา
เพื่อรักษารูปลักษณ์ รูปแบบ วิธีการสร้างสรรค์เอาไว้ นี่ก็คือ คุณค่า
อันสูงยิ่งในงานศิลปะ ที่ศิลปะในปัจจุบันนั้นไม่มี และไม่สามารถสร้าง
ขึ้นมาได้ ศิลปะในปัจจุบันยังนับว่ายังขาดคุณค่าและความงามที่แท้จริง
ของงานศิลปะ ซึ่งถือเป็นสิ่งที่สำคัญจึงต้องรู้จักกับจุดแห่งความพอดี
เกิดจุดถ่วงความสมดุลในการนำเทคโนโลยีมาใช้ คือ การสร้างงานด้วย
ความเคารพต่อต้นแบบที่นำมาให้เกียรติต่องาน หรือบุคคลที่เราได้นำ
ผลงานมาคัดลอก รู้จักการนำเทคโนโลยีเข้ามาร่วมใช้ในทางศิลปะ
อย่างพอเพียง ใช้อย่างพอประมาณ เพื่อไม่ให้ไปทำลายความงามของ
ศิลปะ ซึ่งจุดนี้เองตัวของผู้ผลิตสร้างสรรค์งาน ต้องพึงระลึกเสมอว่า
การใช้เทคโนโลยีต่างๆเข้ามาช่วยเสริมเติมแต่งในงานศิลปะ งานศิลปะ
ไม่จำเป็นเสมอไป ที่จะต้องนำเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนช่วยในการผลิต
มีจิตสำนึกในการสร้างงานอยู่ตลอดว่า ไม่ใช้เทคโนโลยีทำลายหรือ
เปลี่ยนแปลงของเดิมที่มี อยู่จนทำให้งานขาดคุณค่าจากเดิมที่เป็นอยู่
นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยพัฒนาเติมเต็ม และแก้ไขข้อบกพร่องของงาน
ศิลปะในจุดที่ธรรมชาติ ชาตินั้นขาดหายไป หรือไม่สามารถสร้างและ
ทดแทนขึ้นได้อีก ลดความฟุ่มเฟือยของมนุษย์ เพื่อไม่ให้มนุษย์เกิด
ความบ้าคลั่งที่อยากจะได้เพียงฝ่ายเดียว จนทำให้เสียจิตวิญญาณไป
ในที่สุด สุดท้ายนี้ใช้เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วมในการทะนุบำรุงงาน
ศิลปประจำชาติ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และช่วยสืบสานงานศิลปะ
ประเพณี วัฒนธรรม และทำให้มนุษย์เกิดเห็นคุณค่าความงาม
ความหวงแหนศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติสืบไป
อ้างอิง
วิสิทธิ์ จงแจ่ม. 2550. เทคโนโลยีกับศิลปประจำชาติ บรรจงวาดความงาม
ต่างมุมมองกันอย่างไร. เข้าถึงได้จาก http://www.blogger.com/post-
create.g?blogID=5657430422164868461
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น