วันเสาร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

Traditional Performing Arts in Japan



ละครโน (Noh) เป็นละครที่เก่าแก่ที่สุดในญี่ปุ่น ซึ่งพัฒนาขึ้นในศตวรรษที่ 14 เคยเฟื่องฟูมากในหมู่ชนชั้นซามูไร และนักปราญช์ทั้งหลายในสมัยเอโดะ เวทีละครโนมีลักษณะเรียบง่าย นักแสดงสวมหน้ากากและแต่งกายแบบโบราณที่สวยหรู ใช้เสียงค่อนข้างเนิบและเปล่งออกมาในระดับเดียว เรียกว่าอุไต (utai) ซึ่งเป็นการผสมผสานกันระหว่างเสียงสวดมนต์ และการเล่านิทาน ทำให้เสียงออกมามีความแปลกเฉพาะตัว นอกจากนี้ในช่วงพักการแสดงของละครโน จะมีละครชวนหัวที่เรียกว่า " เคียวเง็น " มาแสดงคั่น การแสดงคั่นนี้อาจะมีความเกี่ยวเนื่องบางส่วน กับเนื้อหาของการแสดงโนที่เล่นอยู่ หรือไม่เกี่ยวกันเลย โดยจุดประสงค์ของเคียวเง็นก็เพื่อสร้างความสนุกสนานให้กับผู้ชม

ละครโน เป็นการแสดงที่ผู้แสดงต้องใส่หน้ากาก ประกอบด้วยส่วนที่เป็นเนื้อร้อง(Utai) การแสดงและท่ารำ ความสวยงามอยู่ที่ท่วงท่าการเคลื่อนไหว โดยไม่เน้นที่การแสดง ผู้แสดงละครโนจะแสดงตามบทละครในหนังสือ เรียกว่าอุไต บง(Utai-bon)

นอกจากผู้แสดงแล้วยังมีคนทำหน้าที่ร้องเสียงประสาน เรียกว่าจิอุไต(Ji-utai)เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงมี ขลุ่ย กลองมือขนาดใหญ่ กลองมือขนาดเล็ก ตัวละครมี 4ตัว คือชิเตะ(shite)วะคิ(waki)เคียวเง็น(kyougen)และ ฮะยะชิ (hayashi)

ละครโน พัฒนามาจากการแสดงของจีน(ซังงะขุ)และญี่ปุ่น(เด็งงะคุโน)ผู้ริเริ่ม คือ 2พ่อลูก ชื่อคันอะมิKan-ami)กับเซะอะมิ(Ze-ami)ในสมัยมุโระมะฉิ(Muromachi) ได้รับความนิยมอย่างมากในสมัยโชกุน และได้รับความนิยมในหมู่ทหารและชนชั้นนักรบ




เคียวเง็น (kyogen) เป็นละครตลกคลาสสิคที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่นเมื่อกลางศตวรรษที่ 14 เป็นละครที่เล่นกันมาเกือบหกร้อยปีร่วมกับละครโนห์ ดังนั้นจึงเปรียบละครเคียวเง็นเป็นเสมือนพี่น้องกับละครโนห์ กล่าวคือ โนห์เป็นละครที่ใช้บทเพลงกับการร่ายรำ ในขณะที่เคียวเง็นเป็นละครที่ใช้บทพูดกับท่าทาง

เคียวเง็นเป็นละครตลก มีเนื้อเรื่องล้อเลียนเสียดสีสังคมและเหตุการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันทั่วไปของสามัญชน ใช้บทพูดของคนในสมัยมูโรมาจิ (1394-1573) ) กิริยาท่าทาง บทเพลง และดนตรี ตัวละครก็เป็นสามัญชนในสมัยนั้นที่เรียกกันแต่ชื่อ ทำให้ผู้ชมรู้สึกคุ้นเคยเป็นหนึ่งเดียวกับตัวละคร




ละครคาบูกิ (Kabuki) เป็นละครที่มีการพัฒนาขึ้นในศตวรรษที่ 17 เป็นการแสดงซึ่งเต็มไปด้วยฉากตื่นเต้นเร้าใจและมากด้วยการต่อสู้ เครื่องแต่งกายวิจิตรงดงามและสีสดสวย ฉากการต่อสู้ด้วยดาบ กาารรำที่เร้าใจ การแสดงการเปลี่ยนชุดออย่างสวยงาม และการใช้เทคนิคพิเศษ เช่น ฉากพายุหิมะ หรือฟ้าร้อง ซึ่งเป็นที่นิยมชมชอบ

คาบูกิเป็นศิลปะการแสดงแบบดั้งเดิมที่เป็นที่รู้จักกันดีอีกอย่างหนึ่งของญี่ปุ่น โดยนางรำที่ชื่อว่า Izumo no okuni กับคณะละครของเธอ ในสมัยนั้นยังไม่ประณีตบรรจงเท่าปัจจุบันจึงไม่น่าสนใจ เดิมละครคาบูกิจะใช้ผู้หญิงเล่นเป็นตัวนาง ซึ่งผู้หญิงเหล่านั้นมักจะเป็นโสเภณี แต่เพราะเป็นผู้หญิง การแสดงจึงดูอ่อนช้อยและงดงามแต่ในสมัยโทคุกาวามีการห้ามโดยเด็ดขาด ด้วยเห็นว่าไม่ดีงามต่อศิลธรรม
ตัวละครจะมีการเคลื่อนไหวที่กระฉับกระเฉง แสดงออกซึ่งท่าทางที่มีความหมาย เช่น ร้องไห้ เสียใจ ดีใจ โกรธ บ้าคลั่ง ฯลฯ จึงทำให้ละครคาบูกิเป็นที่นิยมดูกัน การแสดงถูกพัฒนามาเรื่อยๆจนกลายเป็นที่นิยมที่สุดในสมัยเอโดะศตวรรษที่ 20 แต่ไม่ถูกจัดว่าเป็นละครคลาสสิคเนื่องจากคาบูกิเป็นรูปแบบความบันเทิงที่ผสมผสานกันหลากหลาย ตั้งแต่ดนตรี การร่ายรำ การเล่าเรื่องตลกชวนหัว เรื่องเศร้าซึ้งและทุกๆอย่างที่ผู้ชมต้องการดู ในละครคาบูกิไม่มีผู้แสดงหญิง ใช้นักแสดงชายแสดงเป็นผู้หญิงซึ่งเรียกว่า อนนะงาตะ

เนื้อเรื่องของการแสดงคาบูกิจะมีอยู่ 2 ประเภท คือเรื่องเกี่ยวกับสังคมซามูไร ตำนานวีรบุรุษ เวทมนต์และเรื่องราวอันยิ่งใหญ่ และอีกประเภทคือเรื่องราวชีวิตของชาวเมืองเรื่องเศร้าเคล้าน้ำ ละครคาบูกิเป็นเป็นการแสดงที่เต็มไปด้วย ฉากที่ตื่นเต้นเร้าใจและมักจะต้องมีการต่อสู้กันเกิดขึ้นมากมายในเนื้อเรื่อง สังเกตดูหน้าของตัวแสดง เขาจะมีการแต่งหน้าที่เป็นเอกลักษณ์ด้วย โดยเฉพาะที่ตาจะดูน่ากลัวมาก และบทพูดก็ฟังยากมาก แม้กระทั่งคนญี่ปุ่นเองก็ยังฟังเข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้างแต่ก็ดูขลังดี





ละครบุนรากุ (Bunraku) เป็นละครหุ่นซึ่งเริ่มแสดงในศตวรรษที่ 16 ตัวหุ่นมีขนาดครึ่งหนึ่งของคนจริงและดูเหมือนจริงมาก หุ่นแต่ละตัวใช้คนชักสามคนที่เคลื่อนไหว ไปมาบนเวทีด้วยกับหุ่นแม้ว่าศิลปะการละครทั้งสามแบบจะแตกต่างกันทว่ากลับมีความคล้ายคลึงกันหลายประการกล่าวคือ ทั้งละครโนและคาบูกินั้นตัวละครทั้งหมดแสดงโดยนักแสดงชายหรือเด็กชาย การแสดงมักเป็นเรื่องคล้ายกัน ดนตรีประกอบก็เป็นส่วนสำคัญของการแสดงละครทั้งสองแบบ คนร้องเป็นคนบรรยายทุกตอนของการแสดงละครโนและละครคาบูกิ และบรรยายเรื่องของการแสดงหุ่นบุนระกุ เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบด้วยกลอง ขลุ่ย ซามิเซน 3 สาย โคโตะ 13 สาย รวมทั้งเครื่องดนตรีชนิดอื่นๆ

ไม่มีความคิดเห็น: